วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บอกเล่าเรื่องตัวเองพอสังเขป


ชื่อ น.ส.ณัฏฐาภรณ์  รัตนบุรี
ชื่อเล่น แซน
รหัสประจำตัวนักศึกษา  5881103042
อายุ 19 ปี        เกิดวันที่ 19 พฤษภาคา พ.ศ,2539
จบมาจากโรงเรียนทุ่งสง
ที่อยู่ 1/2  ม.6  ต.ควนกรด   อ.ทุ่งสง    จ.นครศรีธรรมราช  80110
เลือดกรุ๊ป  O FB: San  nattaporn
ปรัชญาชีวิต
ในธรรมชาติ..ไม่มีสิ่งใดดีพร้อม
แต่ทุกอย่าง..ก็สมบูรณ์แบบในตัวเอง
ต้นไม้..อาจบิดเบี้ยว-โค้งงอ..อย่างประหลาด
แต่ก็ยังคง..ความงดงาม    
ปรัชญาชีวิตคือ ทำในสิ่งอยากทำแต่ต้องเป็นสิ่งที่ถูกต้องและต้องทำให้ดีที่สุด
การศึกษา
    เริ่มเข้าเรียนมัธยมต้นจนถึงมัธยมปลายที่โรงเรียนทุ่งสงจบมาด้วยเกรดเฉลี่ย 2.96  เป็นคนเรียนไม่ค่อยเก่งแต่ตั้งเรียนจนจบและสอบเข้าระดับอุดมศึกษา
ที่อยากมาเป็นครูเพราะอยากทำตามความฝันที่ตัวเองเคยฝันมาตั้งแต่สมัยเรียนว่าถ้าเรียนจบจะมาเป็นครูและจะเป็นครูที่ดีและจะสอนให้เด็กๆทุกคนเข้าใจและชอบในวิชาที่เรียนและตั้งใจเรียนจะได้นำความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ 
สิ่งที่อยากทำในอนาคต
คืออยากเป็นครูที่ดีและเป็นครูที่ไม่เอาเปรียบนักเรียนและจะทำให้พ่อแม่ภูมิใจ
สิ่งที่ชอบ   คือชอบกิน
สิ่งที่ไม่ชอบคือ ทุเรียน




      

ปรัชญาการศึกษา



แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่  2
1. การจัดการศึกษาที่ไม่มีปรัชญาเป็นแนวทางท่านเห็นด้วยหรือไม่อย่างไรจงอธิบาย
ตอบ ไม่เห็นด้วย เพราะการศึกษาจะทำให้เรามีความคิดและมีความมุ่งหวังต่อการศึกษาที่ทำ และมีการคิดวิเคราะห์นำไปสู่การพัฒนาตัวบุคคล
 2. ปรัชญากับการศึกษาท่านคิดว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ  มีความสัมพันธ์ คือ ปรัชญา คือการสืบเสาะหาความรู้เกี่ยวกับความจริงทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ส่วนการศึกษาเป็นการทำให้มนุษย์เกิดการศึกษาและรู้จักคิดวิเคราะห์ ดังนั้นจึงควรนำปรัชญาและการศึกษามาผสมผสานกัน
3. จง วิเคราะห์การจัดการศึกษาของโรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวกับหลักสูตรการจัด เรียนการสอนและการบริการทางการศึกษาว่ามีเรื่องอะไรบ้างที่ดำเนินการตามแนว คิดการศึกษาของปรัชญาจิตนิยมวัตถุนิยมประสบการณ์นิยมอัตภาวนิยม
ตอบ  โรงเรียนหรือหน่วยงานจะมีการเสริมสร้างองค์ความรู้และความคิดเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ ปรัชญาจิตนิยม เรื่อง การจัดกิจกรรมทางด้านดนตรีให้ผู้เรียน  ปรัชญา วัตถุนิยม เรื่องจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้และคุ้นเคยกับสรรพสิ่งธรรมชาติส่งเสริมให้ผู้ เรียนเข้าถึงธรรมชาติของสิ่งแวดล้อมโดยจัดกิจกรรมอาศัยกฎธรรมชาติเป็นหลัก ประสบการณ์นิยมเรื่อง การที่โรงเรียนเน้นสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อผู้เรียนอัตภาวนิยม เรื่อง การให้ผู้เรียนเลือกกิจกรรมชุมนุมตามอิสระ
4. จงบอกหลักการของปรัชญากลุ่มอนุรักษ์นิยมคือสารัตถนิยมและนิรันตรนิยมเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร                                            ตอบ  ต่างกัน คือ สารัตถนิยมเป็นการผสมผสานระหว่าง ปรัชญาจิตนิยม กับปรัชญาสัจนิยม และนิรันตรนิยมมีพื้นฐาน ความเชื่อมาจากปรัชญาสาขาโทมัสนิยมใหม่ หรือ กลุ่มสัจนิยมเชิงเหตุผล เป็นความเชื่อทางฝ่ายศาสนาและฆราวาสมาผสมกัน ใช้ความคิดเชิงเหตุผลมาตัดสินใน สิ่งต่าง ๆ
5. จงบอกหลักการของปรัชญากลุ่มกลุ่มเสรีนิยม (liber view) คือพิพัฒนาการนิยม (progressive)และปฏิรูปนิยม (reconstructionism) เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  เหมือนกัน คือ พิพัฒนาการนิยม มุ่งพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็ก ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางและปฏิรูปนิยมการเรียนรู้ที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงในชีวิตจริงของซึ่งการศึกษาจะต้องเป็นหลักของการพัฒนาคือ สร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรม
6. จงอธิบายว่าความดีความงามเป็นสิ่งที่วัดได้หรือไม่จงอธิบาย
ตอบ วัดได้ คือความดีความงามจะแสดงออกมาจากการกระทำ คำพูด สีหน้า และการกระทำ
7. จงเขียนเรียงความเรื่องโลกทัศน์ของข้าพเจ้าที่มีต่ออาชีพครู
ตอบ สำหรับ ฉันวิชาชีพครูเป็นวิชาชีพที่ต้องทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจเพื่อทำให้ลูกศิษย์ เกิดการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง และครูยังเปรียบเสมือนแสงไฟส่องนำทางให้ศิษย์เดินไปในทางที่ถูกที่ควรและ สั่งสอนให้เป็นคนดีสามารถอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้อย่างีและมีความสุขโดยที่ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร
8. ท่านคิดว่าปรัชญาตะวันตกที่เหมาะสมใช้เป็นแนวทางการจัดการศึกษาของไทยมากที่สุดจงอธิบาย
ตอบ  ปรัชญา ปฏิรูปนิยม เพราะว่าเป็นปรัชญาที่มุ่งไปสู่การปฏิบัติและการพัฒนาส่งเสริมให้โรงเรียนมี บทบาทในการปฏิรูปสังคมเพื่อใช้การศึกษาเป็นปัจจัยในการสร้างสังคมใหม่ให้มี ความเสมอภาคและมีความเป็นธรรม
9. ท่านคิดว่าพุทธปรัชญาจะมาพัฒนาการศึกษาของไทยได้หรือไม่จงอธิบาย
ตอบ  พัฒนาได้เพราะ พุทธปรัชญาจะช่วยสอนให้รู้จักควบคุมสติและรู้จักผิดชอบชั่วดี
10. ท่าน คิดว่าปรัชญาที่จัดการเรียนการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญจงบอกชื่อและ อธิบายการจัดการสอนที่ยึดเป็นผู้เรียนเป็นสำคัญมีวิธีการจัดอย่างไรอธิบายยก ตัวอย่าง

ตอบ  ปรัชญา ปฏิรูปนิยมเชื่อว่าการเรียนรู้ที่มีค่าต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติจริงในชีวิต จริงของผู้เรียนส่วนการจัดการเรียนการสอนหลักการเชื่อว่า “หนทางปฏิรูปเพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ยึดถือการศึกษาเพื่อปฏิรูปสังคม เป็นสำคัญทั้งยังต้องสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรม

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษา

แบบฝึกหัดท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่  1

1. จงประมวลความหมายของคําว่า “การศึกษา” 5 นิยาม
     ตอบ   1 )สปินด์เลอร์ นักมนุษยวิทยา กล่าวว่า การศึกษา หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรม จะเป็นการมุ่งเน้นให้แต่ละคนมีความเป็นตัวของตัวเองในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม
              2 )   พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ให้ความหมายคําว่า การศึกษา ว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ สร้างองค์ความรู้ที่เกิดจากการจัดสภาพแวดล้อมสังคม การเรียนรู้และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต             
             3) พลาโต นักปรัชญาชาวกรีกได้กล่าวว่า การศึกษา หมายถึงความสามารถที่จะทำให้ผู้เรียนรู้สึกเป็นสุขและเป็นทุกข์ได้ในโอกาสที่เหมอะสม ซึ่งผูเรียนอาจทำให้เกิดได้                 
             4 ) ดวงจิต  แก้วอุบล กล่าวว่า การศึกษา คือ การพัฒนาคนทั้งร่างกาย ความรู้ ความคิด ทักษะ ทัศนคติ และคุณธรรมจริยธรรม
             5) เนลเล่อร์  นักมนุษย์วิทยาอีกคนได้กล่าวเพิ่มเติมว่าการศึกษา เป็นกระบวนการที่ช่วยสร้างจิตใจ นิสัยและความสามารถทางกาย  
 2. คําว่า การศึกษา คือ กระบวนการเรียนรู้ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
     ตอบ  เห็นด้วย เพราะ การศึกษาทำให้คนสามารถพัฒนาความคิด และสามารถต่อยอดความคิดนั้นได้ทำให้เกิดการเรียนรู้
3. ในฐานะที่ท่านเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู จงให้นิยามการศึกษาตามคิดเห็นของท่าน
     ตอบ การศึกษา คือ การเสริมสร้างองค์ความรู้ และต่อยอดความคิด และยังสามารถยกระดับความคิดให้เพิ่มมากขึ้นด้วย
4. ความมุ่งหมายทั่วไปและความมุ่งหมายเฉพาะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
     ตอบ  แตกต่างกัน เพราะ ความมุ่งหมายทั่วไปจะกล่าวอย่างกว้างๆ ครอบคลุมในหลายๆ ด้าน แต่ความมุ่งหมายเฉพาะ เป็นความมุ่งหมายที่จะกล่าวเฉพาะเรื่อง ไม่ได้กล่าวครอบคลุม

5. ความมุ่งหมายคืออะไร ความมุ่งหมายการศึกษาระดับชาติ ความมุ่งหมายการศึกษา แต่ละระดับ ความมุ่งหมายระดับหลักสูตร และความมุ่งหมายระดับหมวด และความมุ่งหมายระดับการสอน มีความสัมพันธ์หรือแตกต่างกันอย่างไร
     ตอบ  ความมุ่งหมาย คือ แนวคิดหรือปรัชญาที่บุคคลกำหนดไว้ล่วงหน้า ในการทำกิจกรรมใดๆ โดยมีการวางแผนสำหรับเป็นแนวปฏิบัติเพื่อให้ลุล่วงและเกิดวัตถุประสงค์ ดังนั้นความมุ่งหมายทุกระดับจึงต้องสอดคล้องสัมพันธ์กันเพื่อจะได้บรรลุผลลัพธ์และถูกต้องตามวัตถุประสงค์
6. องค์ประกอบที่ใช้กำหนดความมุ่งหมายของการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
     ตอบ องค์ประกอบที่ใช้ในการกำหนดความมุ่งหมายของการศึกษา มีประเด็นสรุปได้ดังนี้
1) ปรัชญาการศึกษา เป็นแนวทางที่กำหนดตามความมุ่งหมาย และกำหนดทิศทาง ให้การศึกษาดําเนินการไปในแนวทางของปรัชญานี้
)จิตวิทยาการศึกษา คํานึงถึงผู้เรียนเกี่ยวกับผู้เรียน กระบวนการเรียน การแนะแนว การกำหนดความมุ่งหมายของการศึกษานําไปสู่พัฒนาการของผู้เรียน วิธีวัดคุณค่า เพื่อกาหนดความมุ่งหมายให้สอดคล้องกับความต้องการดังกล่าว
3) การจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของสังคม สืบสานวัฒนธรรม ปกครองระบอบประชาธิปไตย ความมุ่งหมายของการศึกษาเพื่อให้บุคคลสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม และการดําเนินชีวิตของตนเองให้เข้ากับสภาพสังคมปัจจุบัน ซึ่งความมุ่งหมายจะต้องนําแนวคิดเหล่านี้ มากำหนดเป็นความมุ่งหมายไว้ได้ดังกล่าว

 4) บริบทของชุมชน รวมทั้งฐานะทางเศรษฐกิจของคนใน แหล่งวิทยากรของคนในชุมชน ซึ่งการดําเนินการศึกษา อาศัยคนในชุมชน แหล่งเรียนรู้ ทรัพยากรในท้องถิ่น ความมุ่งหมายจําเป็นต้องนําสิ่งที่กล่าวถึงมากำหนดเป็นความมุ่งหมายของการศึกษา
5) ต่างประเทศที่มีความสัมพันธ์กันเป็นวิธีที่ทําให้ทราบว่า การจัดการศึกษาของประเทศต่าง ๆ มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศเรา เช่น การเปิดเสรี สมาคมอาเซียน จะมีผลกระทบต่อการศึกษาเราจําเป็นต้องวิเคราะห์สภาพสังคมบริบทของเราและของประเทศในกลุ่มสมาคมอาเซียน แล้วนํามากำหนดเป็นจุดมุ่งหมายให้สอดคล้องกัน  

 6) เทคโนโลยี เป็นผลทําให้การจัดการศึกษาสะดวกและเป็นไปอย่างรวดเร็ว เปิด โลกการติดต่อสื่อสารได้ทุกมุมของโลก จะต้องนําหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้วัสดุอุปกรณ์การสอนหลากหลาย การกำหนดเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาประกอบ กับความสะดวกรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
 7. ทําไมการจัดการศึกษาไทยสมัยต่าง ๆ จึงต้องกำหนดความมุ่งหมายการศึกษา ที่จะบ่งบอกความเป็นมาของการศึกษาไทยได้หรือไม่อย่างไร จงอธิบาย   
     ตอบ การศึกษาของคนไทยตั้งแต่สุโขทัยจนมาถึงปัจจุบัน  มีเป้าหมายที่จะพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในทุกๆด้านทั้งความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ปลุกใจให้รักชาติ ให้มีความสามัคคีปรองดอง สาเหตุที่ทำให้ต้องมีการกำหนดความมุ่งหมายการศึกษาในสมัยต่างๆ คือการกำหนดความมุ่งหมายการศึกษา นั้นต้องอาศัยบริบทของชุมชน  ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ  และความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี  และจะมีความแตกต่างกันไปตามสภาพของสังคม ซึ่งจากการกำหนดจุดมุ่งหมายของการศึกษาในสมัยต่างๆ สามารถบ่งบอกถึงความเป็นมาและสภาพการของสังคมของไทยตั้งอดีตมาจนถึงปัจจุบันได้ว่าเป็นมาอย่างไร
8. ในฐานะท่านเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู ท่านคิดว่าการศึกษามีความสําคัญต่อประเทศอย่างไร จงอธิบาย
     ตอบ  มีความสำคัญมาก เพราะ การศึกษาเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ ความเข้าใจ โดยเฉพาะกับประเทศ การศึกษาถือว่าสำคัญมาก เพราะมีความเกี่ยวเนื่องทั้งด้านการเมือง การปกครอง สังคมวัฒนธรรม การศึกษาจะทำให้คนในประเทศมีความรู้ และสามารถนำความรู้ที่มีมาใช้พัฒนาประเทศได้ ไม่ถูกประเทศอื่นเอาเปรียบ ขัดเกลาให้คนในสังคมละอายต่อบาป และช่วยให้เคารพกฎหมาย และปฏิบัติตามหน้าที่ของตน
 9. แนวคิดพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวว่า การศึกษาเพื่อมนุษย์จะมีโอกาสได้สิ่งที่ดีที่สุด สิ่งที่มนุษย์ควรจะได้โดยการทําลายซึ่งสัญชาตญาณอย่างสัตว์ แล้วมีการประพฤติกระทําอย่างมนุษย์ที่ มีจิตใจสูงโดยสมบูรณ์ และสิ่งที่ดีที่สุดตามหลักศาสนาพุทธที่ว่า กินอยู่อย่างพอดี อย่ากินส่วนเกินอย่าใช้ส่วนเกินเพื่อจะให้เป็นไปได้อะไรอีกอันหนึ่งซึ่งสูงสุดเรียกว่า “บรมธรรม” และการศึกษา เพื่อธรรมาธิปไตยและเป็นเรื่องคนมีปัญญา ต้องมีปัญญาแท้จริงสูงสุด เห็นด้วยหรือไม่อย่างไร
     ตอบ  เห็นด้วย เพราะ การศึกษาจะทำให้เกิดกระบวนการพัฒนา ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ และคนที่จะมีปัญญาก็ต้องศึกษา ฝึกฝนด้านต่างๆ ฝึกคิดวิเคราะห์ เพื่อนำมาพัฒนาตนเอง
 10. แนวคิดของนักการศึกษาไทยที่ท่านชอบมากที่สุด 1 ท่าน แสดงทัศนะของท่านต่อแนวความคิดการจัดการศึกษาของไทย

     ตอบ ประเวศ วะสี    กล่าวว่า การศึกษาที่ดีสามารถขจัดทุกข์ของแผ่นดิน มิใช่การท่องหนังสือ มิใช่ทำให้คนทุกข์ยากลำบาก และผลิตคนด้อยคุณภาพที่นำไปสู่ความทุกข์และวิกฤต ดังนั้นการศึกษาที่ดีขจัดความยากจนสร้างทักษะชีวิต ทำให้ครอบครัวเป็นปึกแผ่น ชุมชนเข็มแข็งอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรม อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ทำให้การเมืองถูกต้อง สร้างอิสรภาพและความสุข ทำให้เกิดบุคคลเรียนรู้และสังคมเรียนรู้